top of page
ค้นหา

คุณภาพของทุเรียน ‘หมอนทอง’ ในประเทศจีน ตกอันดับถึงขั้นนำไปขายเป็น ‘กล่องสุ่ม’ – แถมคู่แข่งเพื่อนบ้านรอบด้าน ทำให้ถึงเวลาที่ทุกฝ่าย ต้องลุกขึ้นมากอบกู้ ชื่อเสียงทุเรียนไทย



อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้า จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า แม้ทุเรียนไทยจะส่งออกไปยังในประเทศจีนมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี ในช่วงเวลานี้หลายคนหลงเข้าใจว่าเป็นปีทองของทุเรียนไทยและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันในมุมมองของคนจีนเองทุเรียนไทยกลับมีปัญหาเรื่องชื่อเสียงด้านคุณภาพ เพราะการส่งออกทุเรียนหมอนทอง ไปต่างประเทศ มีรูปแบบของการจำหน่ายครั้งละจำนวนมาก และเข้าถึงง่ายในประเทศจีน (Mass) ซึ่งความต้องการผลผลิตที่เยอะมากในจีน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการสกรีนคุณภาพผลผลิตตั้งแต่ต้นทาง


หากเปรียบเทียบ สินค้าที่อยู่ในตลาดประเทศจีน อย่าง ทุเรียนจาก ประเทศมาเลเซีย เช่น สายพันธุ์ ‘มูซานคิง’ (MUSANGKING)  ‘หนามดำ’ (BLACKTHORN) ถูกวาง Position brand เป็นสินค้าที่เป็น Top Quality หรือ ทุเรียนพรีเมียม คุณภาพสูง ขายได้ราคาแพง  ส่วน ทุเรียนไทย อย่าง สายพันธุ์ ‘หมอนทอง’ กลับถูกมองว่าเป็นสินค้ากลุ่ม Mass  เข้าถึงได้ง่าย คุณภาพต่ำกว่า ถึงจุดที่ผู้ประกอบการจีนบางราย นำเอา ทุเรียนไทย เป็นจัดเซ็ตทำกล่องสุ่มให้ลูกค้าได้วัดดวง ลุ้นว่าจะได้กินของดีหรือไม่ ซึ่งจุดนี้เอง  ในฐานะ ประธานหอการค้า จ.จันทบุรี พื้นที่เป็นยานแม่ของผลไม้เมืองร้อนภาคตะวันออก จึงตระหนักว่า ต้องลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ เพื่อกู้ชื่อเสียงทุเรียนไทย


“พี่ต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เพราะ ทุเรียนไทย

จุดด้อย เรื่องคุณภาพในมุมมองของคนจีน

ทุเรียนไทย ถูกนำไปทำกล่องสุ่ม

ดังนั้น เราจะจำเป็นต้องกอบกู้อิสรภาพชื่อเสียงทุเรียนไทย”

อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้า จ.จันทบุรี


นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องคู่แข่ง เพราะตอนนี้ ประเทศจีนผู้ค้าอย่างจีน มีทางเลือกมากขึ้น หลังประเทศ เวียดนาม ลาว กัมพูชา รวมถึง ในประเทศจีนพื้นที่เกาะไหหลำ ทางตอนใต้ของจีน ก็เริ่มมีผลผลิตถึง 50,000 ตันในรอบการเพาะปลูกแรก สะท้อนว่าลูกค้าหลัก อย่าง จีน เริ่มลดการพึ่งพานำเข้า แถมมีทางเลือกมากขึ้นทั้งด้านราคาและคุณภาพ  ซึ่งหากภาคเกษตรของไทย ไม่เร่งวางแผนล่วงหน้า หรือ ทำอะไรสักอย่างตั้งแต่วันนี้ อาจจะทำให้ตลาดทุเรียนไทยน่าเป็นห่วง ดังนั้น ถือเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกันให้ ทุเรียนไทย ยังคงเป็น Top of Mind ในด้านคุณภาพสินค้าในตลาดจีนให้ได้


สำหรับกลยุทธ์ที่ทางหอการค้าจ.จันทบุรี เสนอ คือ การรีแบรนด์ หรือ เปลี่ยนภาพลักษณ์การสื่อสารการตลาดแบบใหม่ให้ทุเรียนไทย โดยทุเรียนมีหลากหลายสายพันธุ์ มีความวาไรตี้ มีความสนุก มีทางเลือก เหมือนสินค้าอย่าง ไวน์ หรือ กาแฟ ที่มีให้เลือกหลากหลาย

ผ่านคอนเซ็ปต์ ‘Thai Durian The Variaty Diversity ทุเรียนไทย ไม่ได้มีแค่ หมอนทอง’ โดยเน้นการสื่อสารเอกลักษณ์ของทุเรียนพันธุ์โบราณ เช่น ป่าละอู่ นกหยิบ ก้านยาว พวงมณี หลงลับแล เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ลูกค้าว่า ทุเรียนมีความหลากหลาย มีหลายรสสัมผัส มีหลากหลายราคา โดยกลุ่มเป้าหมายแรก คือ มณฑลเซียงไฮ้ เพราะเมืองที่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง มีรสนิยมที่แตกต่างในการเลือกทาน ซึ่งหากประสบความสำเร็จในการสื่อสาร ก็จะเริ่มขยายผลไปยังมณฑลอื่นๆ และประเทศกลุ่มอาเซียน  กลุ่มตะวันออกกลาง และยุโรปได้ เพื่อเป็นการเปิดตลาดลูกค้าใหม่ๆ ให้กับทุเรียน ลดความเสี่ยงเรื่องเสถียรภาพด้านราคาจากการพึ่งพาการส่งออกเพียงประเทศเดียว


อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้า จ.จันทบุรี เน้นย้ำว่า หอการค้าไทย โดย หอการค้าจันทบุรี จะทำหน้าที่เสมือนนักการตลาดให้กับประเทศในการสร้างชื่อทุเรียนไทย โดยเริ่มจากเน้นการสื่อสารจาก ‘ทุเรียน ราชาผลไม้’ เป็นโมเดลก่อน โดยอาศัยความร่วมมือจากหอการค้าไทย-จีน สำนักงานการค้าในต่างประเทศ หรือ ฑูตพาณิชย์ จากนั้นหากประสบความสำเร็จจะขยายไปยังผลไม้ประเภทอื่นๆ เช่น มังคุด มะม่วง โดยการที่จะทำให้สินค้าภายใต้แบรนด์ที่มาจากผู้ประกอบการไทยเข้มแข็งได้นั้น ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงภารกิจนี้ และสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page